เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 5. วิปัตติสัมปทาสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต1 นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจาก
ตายแล้วจึงไปเกิดอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3 ประการนี้แล
สัมปทา 3 ประการนี้
สัมปทา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
2. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
3. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) มีความเห็นไม่วิปริตว่า
“ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา