เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 11. นิมิตตสูตร

11. นิมิตตสูตร
ว่าด้วยนิมิต

[103] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต1พึงมนสิการนิมิต 3 ประการ
ตามสมควรแก่เวลา คือ
1. พึงมนสิการสมาธินิมิต2ตามสมควรแก่เวลา
2. พึงมนสิการปัคคหนิมิต3ตามสมควรแก่เวลา
3. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต4ตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิต
นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ
ปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้
บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง
ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิ
มิตตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการ
อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า เอาคีมคีบทองใส่
ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่ง
ดูตามสมควรแก่เวลา ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว
เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง
นั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู
ทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง แต่เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 11. นิมิตตสูตร

ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา
เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่องและไม่แตกง่าย ใช้งาน
ได้ดี และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ
แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้
แม้ฉันใด
ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงมนสิการนิมิต 3 ประการ ตาม
สมควรแก่เวลา คือ
1. พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา
2. พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา
3. พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคค
หนิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น
ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม
สมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขา-
นิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง
และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ1พึงทำให้แจ้ง ฯลฯ
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

นิมิตตสูตรที่ 11 จบ
โลณผลวรรคที่ 5 จบ