เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 10. ปังสุโธวกสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ 2 ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ 2 ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (3)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ เขา
จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม
นั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ

โลณผลสูตรที่ 9 จบ

10. ปังสุโธวกสูตร
ว่าด้วยคนล้างฝุ่นล้างทอง

[102] ภิกษุทั้งหลาย ทองมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบ คือ ดินร่วน
ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้อง คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ร่อนทอง
นั้นในรางน้ำแล้ว ล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบนั้นถูก
ทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังคงมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวด
อย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :341 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 10. ปังสุโธวกสูตร

ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลางนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว
ทองยังมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ด
กะลำพัก คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อ
สิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียดนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ก็ยังคงเหลือเขม่า
ทองอยู่อีก ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม เป่าทองนั้น
เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ ทองนั้นก็ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่หาย
กระด้าง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่ายและใช้งานได้ไม่ดี ช่างทอง
หรือลูกมือของช่างทองเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ในสมัยใด สมัยนั้น
ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าอีก ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
หมดความกระด้าง เป็นของอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี เขามุ่ง
หมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง
เครื่องประดับชนิดนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่ว
ด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) มโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย
ใจ)ของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละบรรเทา
อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาดทำให้สิ้นไป
แล้ว อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความ
ตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในความเบียดเบียน)ของภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางนั้น
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว อุปกิเลสอย่าง
ละเอียด คือ ความนึกคิดถึงชาติ ความนึกคิดถึงชนบท และความนึกคิดที่ประกอบ
ด้วยความไม่ดูหมิ่นของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด
ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด
ทำให้สิ้นไปแล้ว ก็ยังมีธรรมวิตกเหลืออยู่ สมาธินั้นยังไม่สงบ ไม่ประณีต ไม่ได้
ความสงบระงับ ยังไม่บรรลุภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ยังมีการข่มห้ามกิเลสด้วย
ธรรมเครื่องปรุงแต่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :342 }