เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 7. ตติยอาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ 3 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ 2. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
3. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป จึงเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอย่างแน่นอน ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ทุติยอาชานียสูตรที่ 6 จบ

7. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ปประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ 3

[99] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ 3
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :332 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 7. ตติยอาชานียสูตร

องค์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
1. สมบูรณ์ด้วยสี 2. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
3. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ 3 ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ 2. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
3. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ตติยอาชานียสูตรที่ 7 จบ