เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 1. อัจจายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สมณสูตร 2. คัทรภสูตร
3. เขตตสูตร 4. วัชชีปุตตสูตร
5. เสกขสูตร 6. ปฐมสิกขาสูตร
7. ทุติยสิกขาสูตร 8. ตติยสิกขาสูตร
9. ปฐมสิกขัตตยสูตร 10. ทุติยสิกขัตตยสูตร
11. ปังกธาสูตร

5. โลณผลวรรค
หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ
1. อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและของภิกษุ

[93] ภิกษุทั้งหลาย กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ 3 ประการนี้
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้
1. ต้องเร่งรีบไถคราดนา ให้เรียบร้อย
2. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
3. ต้องเร่งรีบไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้าง
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ 3 ประการนี้แล
คหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แลข้าวเปลือก
ของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงออกรวง มะรืนนี้จงหุงได้” แท้ที่จริง ข้าวเปลือกของคหบดี
ชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวง และหุงได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ 3 ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :324 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 2. ปวิเวกสูตร

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
2. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
3. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ 3 ประการนี้แล
ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แล พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้
จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง จิตของ
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีระยะเวลาที่จะ
หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมี
ความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการ
สมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

อัจจายิกสูตรที่ 1 จบ

2. ปวิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส

[94] ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส
ไว้ 3 ประการนี้
ความสงัดจากกิเลส 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยจีวร
2. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
3. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยเสนาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :325 }