เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 7. ทุติยสิกขาสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
ถือปฏิบัติศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอ
จึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี1 เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
สสังขารปรินิพพายี2 เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขาร-
ปรินิพพายี3 เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี4
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี5
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์
มีปกติทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก
น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบท
เหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 8.ตติยสิกขาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้
บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย

ทุติยสิกขาสูตรที่ 7 จบ

8. ตติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขา สูตรที่ 3

[89] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท 150 ถ้วนที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา
ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
สิกขา 3 ประการนี้ เป็นที่รวมของสิกขาบท 150 นั้นทั้งหมด
สิกขา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา 3 ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท 150 นั้นทั้งหมด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
ได้กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังไม่
บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
อันตราปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้ง
อรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :317 }