เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 4. วัชชีปุตตสูตร

3. เขตตสูตร
ว่าด้วยกิจเบื้องต้นที่ควรทำในนา

[84] ภิกษุทั้งหลาย คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้ ในเบื้องต้น
1. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย 2. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
3. ต้องไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร
คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การสมาทานอธิสีลสิกขา 2. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
3. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุมีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น 3 ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน
อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

เขตตสูตรที่ 3 จบ

4. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[85] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตร1รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 5. เสกขสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท 150 ถ้วน1นี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา 3 คือ
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาหรือ”
ภิกษุวัชชีบุตรนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถ
ศึกษาในสิกขา 3 คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา 3 คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น
เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

วัชชีปุตตสูตรที่ 4 จบ

5. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล

[86] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า