เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 7.ทุติยภวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจัก
ไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้นมี
ตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในรูป
ธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์
ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล”

ทุติยภวสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 9. คันธชาตสูตร

8. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลและวัตร

[79] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ศีลวัตร ชีวิต1 พรหมจรรย์ และการบำบวง2 มีผลทุกอย่างหรือ”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาเรื่องนี้ไม่พึงตอบ
โดยแง่เดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำแนก”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพ(รักษา)
ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
กลับเสื่อมไป ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงนั้นชื่อว่าไม่มีผล ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมกลับเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการ
บำบวงนั้นชื่อว่ามีผล”
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา” จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นพอท่านพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระ
ภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ
แต่ผู้ที่เสมอกับอานนท์ทางปัญญามิใช่หาได้ง่าย”

สีลัพพตสูตรที่ 8 จบ

9. คันธชาตสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม

[80] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า