เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 3. มหานามสักกสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พาเจ้ามหานามศากยะหลีกไป ณ ที่สมควรแล้วได้
กล่าวว่า มหานามะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็น
ของพระอเสขะ1 ไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสสมาธิที่เป็นของพระเสขะ2ไว้ก็มี ตรัส
สมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
ไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี
ศีลที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในพระปาติโมกข์อยู่ ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลที่เป็นของพระเสขะ
สมาธิที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิที่เป็นของพระเสขะ
ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏปทา” นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
มหานามะ อริยสาวกนั้นแลผู้เพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วย
สมาธิอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่
เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของ
พระเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มีด้วยประการฉะนี้แล

มหานามสักกสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 4. นิคัณฐสูตร

4. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยนิครนถนาฏบุตร

[75] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น เจ้าอภัยลิจฉวีและเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีพากันเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร เจ้าอภัยลิจฉวีผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถนาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง) มองเห็นทุกอย่าง
ปฏิญญาญาณทัสสนะโดยไม่เหลือว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่น ญาณทัสสนะ1
ก็ปรากฏเป็นนิตย์’ เขาบัญญัติว่ากรรมเก่าสิ้นสุดเพราะตบะ(การบำเพ็ญเพียรอย่าง
หนัก) บัญญัติการกำจัดเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจัก
เป็นอันสลายไป การล่วงพ้นทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป
ซึ่งประจักษ์ชัดด้วยตนเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเรื่องนี้พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอภัย ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป 3 ประการนี้
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้น
ความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้นทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำ
พระนิพพานให้แจ้ง
ความบริสุทธิ์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า
“ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้น
ไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”