เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 10. อุโปสถสูตร

พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาสังฆอุโบสถ1 อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และเพราะปรารภสงฆ์
จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ
จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (3 ค)
4. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปรง และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกระจกเงาที่มัวให้ใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลของตนอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาสีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล
และเพราะปรารภศีล จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง
แห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่าง
นี้แล (3 ฆ)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 10. อุโปสถสูตร

5. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน
หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่น
ใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ
เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ
นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม เกลือ ยางไม้
คีมและความพยายามที่เหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำทองที่หมองให้สุกใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็
มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ ฯลฯ
จาคะ ฯลฯ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น
แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :285 }