เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 10. อุโปสถสูตร

“ผู้นี้เป็นสามีของเรา” แม้ตัวเขาก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรและภรรยาของเรา” พวกทาส
คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นนายของพวกเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “คน
เหล่านี้เป็นทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดของเรา” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนในการ
พูดเท็จในเวลาที่ควรชักชวนในการพูดคำสัตย์ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรม
นี้ของผู้นั้นว่าเป็นมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่
ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมนี้ของผู้นั้นว่าเป็นอทินนาทาน
วิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างนี้แล นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (2)
อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ 1. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
เมื่ออริยสาวกระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิต1เสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำศีรษะที่เปี้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยตะกรัน2 ดินเหนียว น้ำ
และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำศีรษะที่เปื้อนให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 10. อุโปสถสูตร

การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่อเธอระลึกถึง
ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาพรหมอุโบสถ1 อยู่ร่วมกับพรหม และเพราะปรารภ
พรหม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (3 ก)
2. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า ๊พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้
มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล2 ควร
เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ
ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเชือก ผงอาบน้ำ และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกายที่เปื้อนให้สะอาด
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ