เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 7. กถาวัตถุสูตร

7. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ควรกล่าว

[68] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ1 3 ประการนี้
กถาวัตถุ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า “อดีตกาลได้มีอย่างนี้”
2. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า “อนาคตกาลจักมีอย่างนี้”
3. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า “ปัจจุบันกาลมีอยู่อย่างนี้”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ควร
ตอบนัยเดียว ไม่จำแนกตอบซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ไม่ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ ไม่พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้
ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่
ควรตอบโดยนัยเดียว จำแนกตอบปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อ
ว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ2
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป3 ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องปฏิบัติ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตั้งมั่น
อยู่ในฐานะและอฐานะ ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ตั้งมั่นอยู่ใน
เรื่องปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 7. กถาวัตถุสูตร

ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูด
ด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดฟุ้งเฟ้อ พูดย่ำยี พูดหัวเราะเยาะ
คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถาม
ปัญหา ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ ไม่พูดย่ำยี ไม่พูดหัวเราะเยาะ ไม่คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้
บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้มีอุปนิสัย1
หรือไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้ไม่เงี่ยหูฟัง ชื่อว่า “ไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้เงี่ยหูฟังชื่อว่า
“มีอุปนิสัย” บุคคลนั้นผู้มีอุปนิสัยย่อมรู้ธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ละ
ธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง เขาเมื่อรู้ยิ่งธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้
ธรรมอย่างหนึ่ง ละธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมสัมผัสความ
หลุดพ้นโดยชอบ การสนทนากันมีประโยชน์อย่างนี้ การปรึกษากันมีประโยชน์
อย่างนี้ อุปนิสัยมีประโยชน์อย่างนี้ การเงี่ยหูฟังมีประโยชน์อย่างนี้ คือ ความหลุด
พ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น
ชนเหล่าใดเป็นคนมักโกรธ
ฟุ้งซ่าน โอ้อวด พูดเพ้อเจ้อ
ชนเหล่านั้นชื่อว่ายึดถือถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ
มองดูเรื่องผิดพลาดของกันและกัน
ชนเหล่าใดชื่นชมทุพภาษิต ความพลั้งพลาด
ความหลงลืม ความพ่ายแพ้ของกันและกัน
พระอริยะไม่พูดถึงเรื่องนั้นของชนเหล่านั้น