เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 6. สาฬหสูตร

สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อนภิชฌา” บุคคลผู้ไม่เพ่งเล็งอยาก
ได้ของเขานี้ เป็นผู้ไม่โลภ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อพยาบาท” บุคคลผู้มีจิตไม่
พยาบาทนี้เป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “วิชชา” บุคคลผู้มีวิชชานี้เป็นผู้
ไม่หลงอยู่ในความรู้นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
หรือเป็นอกุศล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :267 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 6. สาฬหสูตร

“เป็นกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าว
ไว้ว่า มาเถิด ท่านสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :268 }