เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 6. สาฬหสูตร

“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท
(ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา
(ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :265 }