เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 4. สรภสูตร

ครั้นต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน
กล่าวในหมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร
ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเสด็จไปยังอารามของปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ได้โปรดอนุเคราะห์
เสด็จไปหาสรภปริพาชกด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปยัง
อารามปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา เสด็จเข้าไปหาสรภปริพาชกถึงที่อยู่แล้วนั่ง
บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“สรภะ ทราบว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากย-
บุตรแล้ว ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว
เราคงไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ จริงหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“(สรภะ เราเองบัญญัติธรรมไว้สำหรับเหล่าสมณศากยบุตร) สรภะ จงกล่าวเถิด ท่าน
รู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์
เราจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ เราจักพลอยยินดีด้วย”
แม้ครั้งที่ 3 สรภปริพาชกก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “ท่านสรภะ พระ
สมณโคดมจะปวารณาพระองค์เองทุกครั้งที่ท่านขอ ท่านสรภะ จงกล่าวเถิด ท่านรู้ทั่ว
ถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์ พระ
สมณโคดมจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ พระสมณโคดมจัก
พลอยยินดีด้วย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :253 }


พระสุตตัตนตปิฎ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. มหาวรรค 4. สรภสูตร

เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่ง
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทราบว่าสรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าปฏิญญาตนอยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น
ในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
ตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “อาสวะเหล่านี้ของท่านผู้
ปฏิญญาตนว่าเป็นพระขีณาสพยังไม่สิ้นไปเลย เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตาม
หลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อ
ประโยชน์ใด ธรรมที่ท่านแสดงนั้นไม่อำนวยประโยชน์นั้นเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล”
เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึง
ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ 3 อย่าง คือ (1) พูดกลบเกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง
(2) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และอาการไม่พอใจ (3) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท 3 ครั้ง ณ อารามปริพาชก
ที่ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาแล้วทรงเหาะหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :254 }