เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 1. ติตถายตนสูตร

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาสำรอกดับไป สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีความดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ 4 ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น

ติตถายตนสูตรที่ 1 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค 2. ภยสูตร

2. ภยสูตร
ว่าด้วยภัย

[63] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกภัย 3 อย่างนี้ว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”
ภัย 3 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกไฟ
เผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อ
ตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟเผาอยู่ ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ 1 นี้ว่า
“อมาตาปุตติกภัย1”
2. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้ามีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา
ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัด
ไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่
เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ ในที่นั้น แม้มารดา
ก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่
2 นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
3. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ เมื่อมีภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านพากันขึ้นยานหนีไป
ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับเรียกภัยที่ 3 นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกอมาตาปุตติกภัยทั้ง 3 อย่างนี้แล
ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยทั้ง 3 อย่างนี้แลว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”