เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 7. วัจฉโคตตสูตร

เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มนุษย์
ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล
แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอ
ครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบ
ธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด ฝนย่อมไม่ตกตาม
ฤดูกาล เพราะเหตุนั้นจึงมีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหายเป็นเพลี้ยหนอน เหลือ
แต่ก้าน เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่
เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
อีกประการหนึ่ง มนุษย์ทุกวันนี้ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความ
โลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรมผิด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นยินดีด้วย
ความยินดีที่ไม่ชอบธรรม ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยธรรม
ผิด พวกยักษ์จึงปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้(บนพื้นโลก) เพราะเหตุนั้น มนุษย์จึงล้ม
ตายเป็นจำนวนมาก แม้นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป เหลืออยู่
น้อย แม้หมู่บ้านก็ไม่เป็นหมู่บ้าน แม้ตำบลก็ไม่เป็นตำบล แม้เมืองก็ไม่เป็นเมือง
แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท
พราหมณ์มหาศาลนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ปโลกสูตรที่ 6 จบ

7. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร

[58] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :221 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 7. วัจฉโคตตสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
“พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา
เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด
กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้
ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ
ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก
ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม
ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่
ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่
ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี
ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย
แก่วัตถุ 3 อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ 3 อย่าง
วัตถุ 3 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้)
2. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ)
3. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย
วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ 3 อย่าง
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ 3 อย่าง
แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง
อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง
ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุ
ว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :222 }