เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
5. จูฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ1 ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ภิกษุ
นั้นคิดอย่างนี้ว่า “ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาเหล่านี้ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา” ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้นต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุชั่วอาศัยผู้
มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูก
ทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

มหาโจรสูตรที่ 11 จบ
จูฬวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สัมมุขีภาวสูตร 2. ติฐานสูตร
3. อัตถวสสูตร 4. กถาปวัตติสูตร
5. ปัณฑิตสูตร 6. สีลวันตสูตร
7. สังขตลักขณสูตร 8. อสังขตลักขณสูตร
9. ปัพพตราชสูตร 10. อาตัปปกรณียสูตร
11. มหาโจรสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
1. พราหมณวรรค 1. ปฐมเทวพราหมณสูตร

2. ทุติยปัณณาสก์

1. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
1. ปฐมเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ 2 คน สูตรที่ 1

[52] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ 2 คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่
ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพราหมณ์แก่ ผู่เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วง
กาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่
ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวก
ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวก
ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ 120 ปี พวกท่านนั้นไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา(ความแก่) พยาธิ(ความ
เจ็บ) และมรณะ(ความตาย)ร้อยรัดไว้ เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะร้อยรัดไว้
อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว
ชีวิตถูกชรานำเข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นภัยนี้ในความตาย
ควรทำบุญที่นำสุขมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :214 }