เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 10. อาธิปเตยยสูตร

ภิกษุนั้นเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่ตั้ง
มั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจักมี
อารมณ์แน่วแน่” เธอทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรมที่มี
โทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โลกาธิปไตย
ธัมมาธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าบ้าง อยู่ตามโคนต้นไม้บ้าง อยู่ในเรือนว่างบ้าง
ย่อมเห็นประจักษ์ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ
มีหรือความไม่มีเช่นนั้น อนึ่ง เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำ ชื่อว่าถูกทุกข์ครอบงำ มีทุกข์อยู่ตรงหน้า ทำอย่างไร การ
ทำที่สุดกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล1 ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า
มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนพรหมจารีผู้รู้เห็นอยู่ มีอยู่ การที่เรา
บวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้พึงเกียจคร้านประมาทอยู่นั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย”
ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “ความเพียรที่เราเริ่มไว้แล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่
ตั้งมั่นแล้วจักไม่เลอะเลือน กายที่สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย จิตที่ตั้งมั่นแล้วจัก
มีอารมณ์แน่วแน่” เธอยกธรรมเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละกรรม
ที่มีโทษ บำเพ็ญกรรมที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธัมมาธิปไตย
ภิกษุทั้งหลาย อาธิปไตย 3 ประการนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ชื่อว่าความลับของผู้ทำบาปย่อมไม่มีในโลก
แน่ะบุรุษ ตัวท่านเองย่อมรู้ว่าจริงหรือเท็จ
ท่านผู้เจริญ ท่านสามารถทำความดีได้
แต่กลับดูหมิ่นตัวเองเสีย
และยังปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน
ทวยเทพและตถาคตย่อมมองเห็นท่าน
ผู้เป็นคนพาล ประพฤติไม่สม่ำเสมอในโลก
เพราะเหตุนั้นแล คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป
คนที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ
ส่วนคนมีธรรมเป็นใหญ่ควรประพฤติตามธรรม
มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจังย่อมไม่เสื่อม
บุคคลใดมีความเพียร ข่มมาร
ครอบงำมัจจุราชผู้กำหนดชะตากรรมเสียได้
สัมผัสธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด
บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
เป็นมุนีหมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง

อาธิปเตยยสูตรที่ 10 จบ
เทวทูตวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สพรหมกสูตร 2. อานันทสูตร
3. สารีปุตตสูต 4. นิทานสูตร
5. หัตถกสูต 6. เทวทูตสูตร
7. ยมราชสูตร 8. จตุมหาราชสูตร
8. ทุติยจตุมหาราชสูตร 9. สุขุมาลสูตร
10. อาธิปเตยยสูตร