เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 9. สุขุมาลสูตร

ไว้เพื่อเราภายในที่อยู่ ได้ทราบว่า พระราชบิดานั้นรับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง
ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง ปลูกปุณฑริก(บัวขาว)ไว้ในสระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา เรา
ไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทน์แคว้นกาสี(พาราณสี)เท่านั้น ผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี
เสื้อก็ทำในแคว้นกาสี ผ้านุ่งก็ทำในแคว้นกาสี ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี ทั้งคนรับใช้
คอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดวันและคืนด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือ
น้ำค้างอย่าได้กระทบพระองค์ท่าน
เรานั้นมีปราสาทอยู่ 3 หลัง คือ ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วย
ดนตรีที่ไม่ใช่บุรุษบรรเลง ตลอด 4 เดือนฤดูฝน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ได้ลงข้างล่าง
ปราสาทเลย ก็แลในที่อยู่ของคนเหล่าอื่น เขาให้ข้าวป่น(ข้าวหัก)มีน้ำผักดองเป็นกับ
แก่ทาส คนงาน และคนรับใช้ ฉันใด ในนิเวศน์ของพระราชบิดาของเราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เขาให้ข้าวสาลีสุกผสมเนื้อแก่ทาส คนงาน และคนรับใช้
เรานั้นเพียบพร้อมด้วยความสำเร็จอย่างนี้ และเป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ได้
มีความคิดว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง
พ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า
แม้เราเองก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ การที่เราผู้มีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เห็นบุคคลอื่นแก่ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น
ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในความ
เป็นหนุ่มสาวได้โดยประการทั้งปวง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ
เจ็บไข้ไปได้ เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้
เราเองก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ การที่เราผู้มีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้เห็นบุคคลอื่นเจ็บไข้ ก็อึดอัด ระอา
รังเกียจนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัว
เมาในความไม่มีโรคได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :199 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
4. เทวทูตวรรค 9. สุขุมาลสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
ไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจ ลืมตัว ไม่คิดว่า แม้เราเองก็
มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ การที่เราผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็นบุคคลอื่นตาย ก็อึดอัด ระอา รังเกียจนั้น ไม่สมควร
แก่เราเลย เรานั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ จึงละความมัวเมาในชีวิตได้โดยประการ
ทั้งปวง
ความมัวเมา 3 ประการนี้
ความมัวเมา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว 2. ความมัวเมาในความไม่มีโรค
3. ความมัวเมาในชีวิต
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มัวเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
มัวเมาในชีวิต ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุผู้มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุผู้มัวเมาในความไม่มีโรคย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ หรือภิกษุผู้
มัวเมาในชีวิตย่อมบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์
ปุถุชนทั้งหลายมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
มีความแก่เป็นธรรมดาและมีความตายเป็นธรรมดา
เป็นอยู่ตามสภาวะ ย่อมพากันรังเกียจ(บุคคลอื่น)
ก็การที่เรารังเกียจความป่วยไข้เป็นต้นนี้
ในหมู่สัตว์ผู้มีสภาวะอย่างนี้นั้น
ไม่สมควรแก่เราผู้มีปกติอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :200 }