เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 10. อวกุชชสูตร

แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือน
หม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลก
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นก็ไม่ได้ แม้
ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจาก
ที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเก็บ
ของเคี้ยวต่าง ๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษนั้นเมื่อลุกจากที่
นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำ
เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลมีปัญญากว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่
นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :181 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 10. อวกุชชสูตร

ที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ไม่ไหลราดไป แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่ง
ตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยัง
จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญากว้างขวาง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
เป็นคนเขลา ไม่มีปัญญาสำหรับพิจารณา
บุคคลเช่นนั้นแม้จะหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ก็ไม่อาจเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถาได้
เพราะเขาไม่มีปัญญา
บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
บุคคลเช่นนั้นแม้หมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
ครั้นลุกขึ้นแล้วก็กำหนดรู้พยัญชนะไม่ได้
เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป
ส่วนบุคคลมีปัญญากว้างขวาง
เรากล่าวว่า ดีกว่าบุคคลที่มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลเช่นนั้นหมั่นไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
นั่งตรงที่นั้นเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
จำพยัญชนะได้ มีความดำริประเสริฐ
มีจิตใจไม่วอกแวก ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

อวกุชชสูตรที่ 10 จบ
ปุคคลวรรคที่ 3 จบ