เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 9. อันธสูตร

บุคคลตาบอด เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา1 เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ
ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด
บุคคลตาเดียว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว
บุคคลสองตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โภคทรัพย์อย่างนั้นไม่มีแก่บุคคลตาบอด
และบุคคลตาบอดย่อมไม่ทำบุญ
โทษเคราะห์ย่อมมีแก่บุคคลตาบอด
ผู้มีนัยน์ตาเสียในโลกทั้งสอง
ในกาลต่อมา เราได้กล่าวถึงบุคคลตาเดียวนี้ไว้
ก็บุคคลตาเดียวหมกมุ่นกับธรรมและอธรรม
แสวงหาโภคทรัพย์ด้วยการคดโกงและการพูดเท็จ
อันเป็นการลักขโมยทั้งสองอย่าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 10. อวกุชชสูตร

ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล
เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์
เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน
ส่วนบุคคลสองตา
เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด
เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน
จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม
มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก
ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก
บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว
แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด

อันธสูตรที่ 9 จบ

10. อวกุชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ

[30] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ 2. บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก
3. บุคคลมีปัญญากว้างขวาง(เหมือนหม้อหงาย)
บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์1พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน