เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 4. พหุการสูตร

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะ
ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุข
และทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และเปรตบางพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังขารสูตรที่ 3 จบ

4. พหุการสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีอุปการะมาก

[24] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีอุปการะมากแก่บุคคล
บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก นับถือ
พระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และนับถือพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
2. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมาก
แก่บุคคลนี้
3. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :172 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 5. วชิรูปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นนอกจากบุคคล 3 จำพวกนี้ที่ชื่อว่า
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลนี้ การที่บุคคลนี้จะปฏิบัติตอบแทนแก่บุคคล 3 จำพวก
นี้ด้วยการตอบแทน คือด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ การแสดง
ความเคารพ การให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เรากล่าวว่า
มิใช่จะทำได้โดยง่าย

พหุการสูตรที่ 4 จบ

5. วชิรูปมสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร

[25] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า 2. บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
3. บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่า
กล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ
ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อม
ให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
เป็นคน มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ
โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ นี้เรียกว่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า
บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เปรียบเหมือนคนมีตาดีเห็นรูปได้ในขณะ
ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :173 }