เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 3. สังขารสูตร

3. สังขารสูตร
ว่าด้วยสังขาร

[23] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขาร1 ที่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขาร2 ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร3 ที่มีความ
เบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน
ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ
เบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวก
สัตว์นรก
2. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุง
แต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มี
ความเบียดเบียน เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความ
เบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วน
เดียวเหมือนสุภกิณหพรหม
3. บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่
มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
3. ปุคคลวรรค 4. พหุการสูตร

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึง
โลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะ
ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อม
เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุข
และทุกข์ระคนกันเหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และเปรตบางพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังขารสูตรที่ 3 จบ

4. พหุการสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีอุปการะมาก

[24] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีอุปการะมากแก่บุคคล
บุคคล 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก นับถือ
พระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และนับถือพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
2. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย(เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมาก
แก่บุคคลนี้
3. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลนี้ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลชื่อว่ามีอุปการะมากแก่บุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :172 }