เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. รถการวรรค 10. ทุติยปาปณิกสูตร

พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร
คือ คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก ย่อมรู้จัก
พ่อค้าในโลกนี้อย่างนี้ว่า “พ่อค้าผู้นี้แลมีตาดี มีธุรกิจดี และสามารถที่จะเลี้ยงดู
บุตรภรรยาได้ทั้งใช้คืนให้แก่พวกเราได้ตามกำหนดเวลา” คหบดีหรือบุตรคหบดีเหล่านั้น
ย่อมเชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคทรัพย์ว่า “นับแต่นี้ไป ท่านจงนำโภคทรัพย์ไปเลี้ยงดู
บุตรภรรยา และใช้คืนให้พวกเราตามกำหนดเวลา” พ่อค้าชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่
พักพิงอาศัย เป็นอย่างนี้แล
พ่อค้าประกอบด้วยองค์ 3 ประการนี้แล ไม่นานนักก็ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ไพบูลย์ในโภคทรัพย์ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่นานนักก็
บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. มีตาดี 2. มีธุระดี
3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย
ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุชื่อว่ามีตาดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธุระดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
ว่ามีธุระดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :164 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. รถการวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์1 ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อมเปิดเผยธรรม
ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัย
ในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ภิกษุชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ไม่นานนักก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่ไพบูลย์ในกุศลธรรม

ทุติยปาปณิกสูตรที่ 10 จบ

รถการวรรคที่ 2 จบ

ปฐมภาณวาร จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ญาตสูตร 2. สารณียสูตร
3. อาสังสสูตร 4. จักกวัตติสูตร
5. ปเจตนสูตร 6. อปัณณกสูตร
7. อัตตพยาพาธสูตร 8. เทวโลกสูตร
9. ปฐมปาปณิกสูตร 10. ทุติยปาปณิกสูตร