เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. รถการวรรค 7. อัตตพยาพาธสูตร

แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุชื่อว่า
รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวาซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิม-
ยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติไม่ผิด
และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

อปัณณกสูตรที่ 6 จบ

7. อัตตพยาพาธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

[17] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
2. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
3. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
ธรรม 3 ประการนี้แลเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :160 }