เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. รถการวรรค 5. ปเจตนสูตร

แก่นและกระพี้ที่มียาง แม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง แม้ดุม
ก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะกงไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มี
แก่นและกระพี้ที่มียาง เพราะแม้กำก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง
เพราะแม้ดุมก็ไม่คด ไม่มีปุ่มปม ไม่มีแก่นและกระพี้ที่มียาง ล้อนั้นเมื่อข้าพระองค์
หมุนจึงหมุนไปได้เท่าที่ข้าพระองค์หมุนแล้วตั้งอยู่ได้เหมือนอยู่ในเพลา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “สมัยนั้น นายช่างรถคงเป็น
คนอื่นแน่” แต่ข้อนี้เธอทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราคือนายช่างรถนั้น
ในครั้งนั้นเราเป็นคนฉลาดในความคดของไม้ ในปุ่มปมของไม้ ในแก่นและกระพี้ที่มี
ยางของไม้ แต่ในปัจจุบันนี้เราเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (1) ฉลาดในความคด
ของกาย โทษของกาย มลทิน1ของกาย (2) ฉลาดในความคดของวาจา โทษของ
วาจา มลทินของวาจา (3) ฉลาดในความคดของใจ โทษของใจ มลทินของใจ ภิกษุ
หรือภิกษุณีผู้ไม่ละความคดของกาย โทษของกาย มลทินของกาย ไม่ละความคดของ
วาจา โทษของวาจา มลทินของวาจา และไม่ละความคดของใจ โทษของใจ มลทิน
ของใจ ชื่อว่าได้พลัดตกไปจากธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จโดยใช้เวลา 6 วัน
ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ละความคดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย
ละความคดของวาจา โทษของวาจา และมลทินของวาจา ละความคดของใจ โทษ
ของใจ และมลทินของใจ ชื่อว่าดำรงมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้เหมือนล้อข้างที่ทำสำเร็จ
โดยใช้เวลา 5 เดือน 24 วัน
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักละความ
คดของกาย โทษของกาย และมลทินของกาย จักละความคดของวาจา โทษของ
วาจา และมลทินของวาจา จักละความคดของใจ โทษของใจ และมลทินของใจ”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

ปเจตนสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. รถการวรรค 6. อปัณณกสูตร

6. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด

[16] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
ไม่ผิด และเธอชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ 2. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
3. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึง
เป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้