เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 7. สาวัชชสูตร

1. กายกรรมที่เป็นกุศล 2. วจีกรรมที่เป็นกุศล
3. มโนกรรมที่เป็นกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

อกุสลสูตรที่ 6 จบ

7. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษ

[7] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่มีโทษ 2. วจีกรรมที่มีโทษ
3. มโนกรรมที่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่ไม่มีโทษ 2. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
3. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

สาวัชชสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. พาลวรรค 9. ขตสูตร

8. สัพยาปัชฌสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีความเบียดเบียน

[8] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่มีความเบียดเบียน 2. วจีกรรมที่มีความเบียดเบียน
3. มโนกรรมที่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน 2. วจีกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
3. มโนกรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม 3 ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจักถือ
ปฏิบัติธรรม 3 ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

สัพยาปัชฌสูตรที่ 8 จบ

9. ขตสูตร
ว่าด้วยการบริหารตนให้ถูกกำจัด

[9] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม
3 ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพ1สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก