เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 6. อกุสลสูตร

1. ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย 2. ตอบปัญหาโดยไม่แยบคาย
3. ไม่ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตั้งปัญหาโดยแยบคาย 2. ตอบปัญหาโดยแยบคาย
3. ชื่นชมยินดีปัญหาที่ผู้อื่นตอบโดยแยบคายด้วยบทพยัญชนะที่
เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

อโยนิโสสูตรที่ 5 จบ

6. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรม

[6] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่เป็นอกุศล 2. วจีกรรมที่เป็นอกุศล
3. มโนกรรมที่เป็นอกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :144 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. พาลวรรค 7. สาวัชชสูตร

1. กายกรรมที่เป็นกุศล 2. วจีกรรมที่เป็นกุศล
3. มโนกรรมที่เป็นกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

อกุสลสูตรที่ 6 จบ

7. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษ

[7] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็น
คนพาล
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่มีโทษ 2. วจีกรรมที่มีโทษ
3. มโนกรรมที่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมที่ไม่มีโทษ 2. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
3. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ฯลฯ

สาวัชชสูตรที่ 7 จบ