เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. อายาจนวรรค

คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล 2 จำพวกนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 2 จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. มารดา 2. บิดา
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 2 จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (7)
[138] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล 2 จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ตถาคต 2. สาวกของตถาคต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล 2 จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 2 จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ตถาคต 2. สาวกของตถาคต
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 2 จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :119 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 3. ทานวรรค

[139] ธรรม 2 ประการนี้
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว 2. ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ1 ในโลก
ธรรม 2 ประการนี้แล (9)
[140] ธรรม 2 ประการนี้
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. โกธะ (ความโกรธ) 2. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
ธรรม 2 ประการนี้แล (10)
[141] ธรรม 2 ประการนี้
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การกำจัดความโกรธ 2. การกำจัดอุปนาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้แล (11)

อายาจนวรรคที่ 2 จบ

3. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน

[142] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน 2 อย่างนี้
ทาน 2 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. อามิสทาน2 (การให้สิ่งของ) 2. ธัมมทาน3 (การให้ธรรม)
ทาน 2 อย่างนี้แล บรรดาทาน 2 อย่างนี้ ธัมมทานเป็นเลิศ (1)