เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
1. อวิชชาวรรค 4. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสติที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด

คำว่า ‘ยานอันประเสริฐ’ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เอง เรียกว่า
พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้างนั้น พึงทราบโดย
ปริยายนี้แล”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

“รถ1ใดมีธรรมคือศรัทธาและปัญญาเป็นแอกทุกเมื่อ
มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือก
มีสติเป็นนายสารถีผู้คอยควบคุม
รถนี้มีศีล2เป็นเครื่องประดับ
มีฌาน3เป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขาเป็นทูบ4 มีความไม่อยากได้เป็นประทุน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
1. อวิชชาวรรค 5. กิมัตถิยสูตร

กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
มีความไม่เบียดเบียนและมีวิเวก1เป็นอาวุธ
มีความอดทนเป็นเกราะหนัง
กุลบุตรนั้นย่อมประพฤติเพื่อความเกษมจากโยคะ
พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้
เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีชัยชนะ
ย่อมออกไปจากโลกโดยแท้”

ชาณุสโสณิพราหมณสูตรที่ 4 จบ

5. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[5] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
อะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”