เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
5. ปปาตวรรค 9. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร

8. ทุติยฉิคคฬยุคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแอกมีรูเดียว สูตรที่ 2

[1118] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงบนมหาปฐพีนั้น ลมทางทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไป
ทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัด
ไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ บนมหาปฐพีนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัว
หนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา 100 ปีต่อครั้ง เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา 100 ปีต่อครั้ง จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้
บ้างหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอดนั้นโผล่ขึ้นมา 100 ปีต่อครั้ง จะ
สอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน การได้ความเป็น
มนุษย์ก็ยาก การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ยาก การที่
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วรุ่งเรืองในโลกก็ยาก บัดนี้เต่านั้นได้ความเป็นมนุษย์
นี้แล้ว ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก และธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยฉิคคฬยุคสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ 1

[1119] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
7 ก้อนของขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมากับขุนเขาสิเนรุ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :631 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
5. ปปาตวรรค 10. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
7 ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมามีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่
บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือ
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า
ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว
คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง 7 ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ 2

[1120] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุหมดสิ้นไป เหลือก้อนหิน
ขนาดเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ขุนเขา
สิเนรุที่หมดสิ้นไปกับก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่เหลืออยู่ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อนที่เหลืออยู่ มีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว 7
ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ
เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :632 }