เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
5. ปปาตวรรค 3. มหาปริฬาหสูตร

ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์
ที่น่าพอใจ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนนั้นมากหนอ ความเร่าร้อนนั้นมาก
จริงหนอ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่ ภิกษุ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความ
เร่าร้อนนี้ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน
เพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชราบ้าง ย่อม
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่ปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือ
ชราบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะ
ความเร่าร้อนคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า
‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :626 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
5. ปปาตวรรค 4. กูฏาคารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

มหาปริฬาหสูตรที่ 3 จบ

4. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือนยอด

[1114] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายังไม่ได้สร้างเรือนชั้นล่าง แล้วจัก
ต่อชั้นบนแห่งเรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายัง
ไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ได้
รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดย
ชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้สร้างเรือนชั้นล่างแล้ว จักต่อชั้นบนแห่ง
เรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ได้รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง’ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์
โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

กูฏาคารสูตรที่ 4 จบ