เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
4. สีสปาวนวรรค 9. อินทขีลสูตร

8. ทุติยสุริยสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ 2

[1108] “ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบ
ใด ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
กลางวัน และกลางคืนไม่ปากฏ เดือนและกึ่งเดือนไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความสว่างไสว
เจิดจ้า ย่อมปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ กลางวันและกลางคืนก็ปรากฏ
เดือนและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลกตราบใด
ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การ
ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4 ประการ ก็ยังไม่มี
แต่เมื่อใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความ
สว่างไสวเจิดจ้าก็ปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4
ประการก็ย่อมมี ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยสุริยสูตรที่ 8 จบ

9. อินทขีลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเสาเขื่อนที่ปักไว้ลึก

[1109] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :618 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
4. สีสปาวนวรรค 9. อินทขีลสูตร

เหล่านั้นย่อมมองหน้า1ของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้
ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายเป็นของเบา มักลอยไปตามลม
วางไว้บนพื้นอันราบเรียบ ลมทางทิศตะวันออกพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศ
ตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดไปทาง
ทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุยฝ้ายเป็นของเบา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองหน้าของสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ 4 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่ต้องมองหน้าของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง
เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี
ไม่ไหว ไม่โยก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออกอย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากพายุ
ฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า