เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
2. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค 7. อวิชชาสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ 4 ประการที่เราแสดงไว้แล้ว
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ 1 เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ 1 ที่พระสมณโคดม
ทรงแสดงไว้แล้ว เราจักบอกคืนทุกขอริยสัจข้อที่ 1 นั้นแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจ
ข้อที่ 1 เป็นอย่างอื่น’ เราแสดงทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ 4 เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็น
ไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ 4 ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกคืนทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ 4 นั้นแล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ 4
เป็นอย่างอื่น’ เธอจงทรงจำอริยสัจ 4 ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อทรงจำว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยธารณสูตรที่ 6 จบ

7. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[1087] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘อวิชชา’
และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อวิชชาสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
2. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค 9. สังกาสนสูตร

8. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา

[1088] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘วิชชา’ และ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

วิชชาสูตรที่ 8 จบ

9. สังกาสนสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยสัจ

[1089] “ภิกษุทั้งหลาย คำที่เราบัญญัติไว้ว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น
เมื่อจะขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร พยัญชนะ
และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ฯลฯ
คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น เมื่อจะ
ขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทาอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร
พยัญชนะ และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สังกาสนสูตรที่ 9 จบ