เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
2. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค 3. ขันธสูตร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทานี้ ตถาคตทั้งหลายได้เจริญแล้ว”

ตถาคตสูตรที่ 2 จบ

3. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์

[1083] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้
อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ 2. ทุกขสมุทยอริยสัจ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 ประการ
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้
เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :598 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
2. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค 4. อัชฌัตติกายตนสูตร

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ขันธสูตรที่ 3 จบ

4. อัชฌัตติกายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายใน

[1084] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้
อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขอริยสัจ 2. ทุกขสมุทยอริยสัจ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ 4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อายตนะภายใน 6 ประการ
อายตนะภายใน 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
ฯลฯ
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความความเพลิดเพลินและความ
กำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :599 }