เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
1. สมาธิวรรค 10. ติรัจฉานกถาสูตร

9. วิคคาหิกกถาสูตร
ว่าด้วยการกล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน

[1079] “ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็อย่ากล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกันว่า
‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มี
ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่าน
กลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว
ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้องตนให้
พ้นผิดเถิด1
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการกล่าวเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรว่า ...”

วิคคาหิกกถาสูตรที่ 9 จบ

10. ติรัจฉานกถาสูตร
ว่าด้วยติรัจฉานกถา

[1080] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากล่าวติรัจฉานกถา2 ซึ่งมีหลาย
อย่าง คือ (1) ราชกถา เรื่องพระราชา (2) โจรกถา เรื่องโจร (3) มหามัตตกถา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [12. สัจจสังยุต]
1. สมาธิวรรค 10. ติรัจฉานกถาสูตร

เรื่องมหาอำมาตย์ (4) เสนากถา เรื่องกองทัพ (5) ภยกถา เรื่องภัย (6) ยุทธกถา
เรื่องการรบ (7) อันนกถา เรื่องข้าว (8) ปานกถา เรื่องน้ำ (9) วัตถกถา เรื่องผ้า
(10) สยนกถา เรื่องที่นอน (11) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (12) คันธกถา
เรื่องของหอม (13) ญาติกถา เรื่องญาติ (14) ยานกถา เรื่องยาน (15) คามกถา
เรื่องบ้าน (16) นิคมกถา เรื่องนิคม (17) นครกถา เรื่องเมือง (18) ชนปทกถา
เรื่องชนบท (19) อิตถีกถา เรื่องสตรี (20) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (21) สูรกถา
เรื่องคนกล้าหาญ (22) วิสิขากถา เรื่องตรอก (23) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ
(24) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (25) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
(26) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (27) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (28) อิติภวาภวกถา
เรื่องความเจริญและความเสื่อม1
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะติรัจฉานกถานี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไป
เพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อกล่าวว่า ‘นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ติรัจฉานกถาสูตรที่ 10 จบ
สมาธิวรรคที่ 1 จบ