เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
6. สัปปัญญวรรค 4. คิลานสูตร

‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ ท่าน
1. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
2. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. มีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการนี้แล้ว พึงถามว่า
‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใย
มารดาบิดาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะไม่ทำ
ความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด ขอท่านจงละความห่วงใย
มารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’ อุบาสกนั้น
พึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยัง
มีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มี
ความตายเป็นธรรมดา ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือน
กัน ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด
ขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’ อุบาสก
นั้นพึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ 5 อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’ ถ้า
เขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ 5 อันเป็นของมนุษย์อยู่’ อุบาสกนั้นพึง
กล่าวว่า ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์
เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว น้อมจิตไปในหมู่
เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :575 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
6. สัปปัญญวรรค 5. โสตาปัตติผลสูตร

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน หมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นจาตุมหาราช เอาเถิด ขอท่านจง
พรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์แล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘หมู่เทพชั้นยามายังดี
กว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ หมู่เทพชั้นดุสิต ฯลฯ หมู่เทพชั้น
นิมมานรดี ฯลฯ หมู่เทพชั้นปรินิมมิตวสวัตดี ฯลฯ พรหมโลกยังดีกว่าและ
ประณีตกว่าหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ผมน้อมจิตไปในพรหมโลกแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน นับเนื่องด้วยสักกายะ1 เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว
นำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธ(ความดับกายของตน)เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว ผมนำจิตเข้าไป
ในสักกายนิโรธอยู่แล้ว’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ
อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างอะไรกันเลย คือ หลุดพ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน”

คิลานสูตรที่ 4 จบ

5. โสตาปัตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

[1051] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล