เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
6. สัปปัญญวรรค 4. คิลานสูตร

3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ธัมมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติ-
ผลท่านทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว”

ธัมมทินนสูตรที่ 3 จบ

4. คิลานสูตร
ว่าด้วยอุบาสกป่วย

[1050] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาค ด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็
จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
ท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันยังไม่ได้ทราบข่าว ไม่ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อุบาสกผู้มีปัญญา1 พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา
ซึ่งป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก”
“มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
6. สัปปัญญวรรค 4. คิลานสูตร

‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ ท่าน
1. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
2. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. มีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการนี้แล้ว พึงถามว่า
‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใย
มารดาบิดาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะไม่ทำ
ความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด ขอท่านจงละความห่วงใย
มารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’ อุบาสกนั้น
พึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยัง
มีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มี
ความตายเป็นธรรมดา ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือน
กัน ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด
ขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’ อุบาสก
นั้นพึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ 5 อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’ ถ้า
เขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ 5 อันเป็นของมนุษย์อยู่’ อุบาสกนั้นพึง
กล่าวว่า ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์
เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว น้อมจิตไปในหมู่
เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :575 }