เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
5. สคาถกปุญญภิสันทวรรค 3. ตติยอภิสันทสูตร

การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล 4
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก1
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”

ทุติยอภิสันทสูตรที่ 2 จบ

3. ตติยอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ 3

[1039] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ 4 ประการนี้
ห้วงบุญกุศล 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ 1
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :563 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
5. สคาถกปุญญภิสันทวรรค 4. ปฐมมหัทธนสูตร

4. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ 4
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ 4 ประการนี้แล
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล 4
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งอยู่ในกุศล
ย่อมเจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตะ
ผู้นั้นบรรลุธรรมอันเป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ย่อมไม่หวั่นไหวเมื่อมัจจุราชมาถึง”

ตติยอภิสันทสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมมหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นผู้มีทรัพย์มาก สูตรที่ 1

[1040] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่’
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :564 }