เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
4. ปุญญาภิสันทวรรค 10. นันทิยสักกสูตร

ไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี
ปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่
ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้
นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน
เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของ
ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่
ประมาทโดยแท้
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ พยายาม
ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด
เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ
ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :558 }