เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 6. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาดี และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่ อาตมภาพกล่าว
ถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชดี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะเลย เพราะเจ้า
สรณานิศากยะได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ในเวลาจะสวรรคต”

ทุติยสรณานิสักกสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ 1

[1022] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง
เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำ
ของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถ-
บิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณ
ท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรด
อนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร มี
ท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :536 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 6. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ขอรับ”
“คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
1. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นว่ามี
อยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
2. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระธรรม ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่
ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
3. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระสงฆ์ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็
เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้น
ว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
4. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :537 }