เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 4. ปฐมสรณานิสักกสูตร

4. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ1 สูตรที่ 1

[1020] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุมพร้อม
กันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะ
สวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึง
ความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดัง
นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระ
องค์มาประชุมพร้อมกันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน
เพราะเจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่
เจ้าสรณานิศากยะถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว
ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 4. ปฐมสรณานิสักกสูตร

เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงเจ้าศากยะ
พระนามว่าสรณานิว่า ‘เป็นอุบาสก ผู้ทรงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) มีชวนปัญญา (ปัญญาแล่นไป)
และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิ
แห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :530 }