เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 2.ทุติยมหานามสูตร

มหาบพิตร บุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อน
กรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลง ส่วนเนยใสหรือน้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น
เหนือน้ำ แม้ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญ
ด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้น
จากมหาภูตรูป 4 เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส
ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง
แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง
ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วย
ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ แต่จิตของพระองค์ที่ได้
เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานานก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์
จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม”

ปฐมมหานามสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ 2

[1018] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้ มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง
ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราพึงถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติ
ของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :523 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
3. สรณานิวรรค 3. โคธสักกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย
มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปทางทิศปราจีน โน้มไปทางทิศปราจีน
โอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดโคนจะล้มไปทางไหน”
“จะล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 4 ประการนี้ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”

ทุติยมหานามสูตรที่ 2 จบ

3. โคธสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา

[1019] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่า
โคธาถึงที่ประทับแล้วได้ตรัสถามเจ้าศากยะพระนามว่าโคธานั้นดังนี้ว่า “โคธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :524 }