เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
1. เวฬุทวารวรรค 7. เวฬุทวาเรยยสูตร

ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจาก
การลักทรัพย์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์
ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
3. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึง
ประพฤติล่วงภรรยาของผู้อื่นนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ
แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้น
ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’
อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อม
บริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
4. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงทำลายประโยชน์ของเรา
ด้วยการพูดเท็จนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง
ข้อที่เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ ข้อนั้นก็ไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูก
มัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็น
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย
วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
5. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย
การพูดส่อเสียดนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :503 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
1. เวฬุทวารวรรค 7. เวฬุทวาเรยยสูตร

ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น ฯลฯ วจีสมาจาร
นี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
6. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยคำหยาบนั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่น
ด้วยคำหยาบนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ฯลฯ วจีสมาจารนี้
ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
7. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยการพูด
เพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่นด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัด
กับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเพ้อเจ้อด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อ
เจ้อด้วย วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
อริยสาวกนั้น
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :504 }