เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
1. เวฬุทวารวรรค 7. เวฬุทวาเรยยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
บรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
ธรรมบรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิตเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยาก
ตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณา
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
2. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงถือเอาสิ่งของของเราที่เราไม่
ให้ด้วยอาการขโมยนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยอาการขโมยนั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของ
ผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้น
ไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้
แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :502 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
1. เวฬุทวารวรรค 7. เวฬุทวาเรยยสูตร

ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจาก
การลักทรัพย์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์
ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
3. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึง
ประพฤติล่วงภรรยาของผู้อื่นนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ
แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้น
ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’
อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อม
บริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
4. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงทำลายประโยชน์ของเรา
ด้วยการพูดเท็จนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง
ข้อที่เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ ข้อนั้นก็ไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูก
มัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็น
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย
วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง 3 ส่วนดังที่กล่าวมานี้
5. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย
การพูดส่อเสียดนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :503 }