เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 9. อัทธานปริญญาสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
ไปเพื่อละสังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ1 สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”

สัญโญชนัปปหานสูตรที่ 7 จบ

8. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

[994] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไป
เพื่อถอนอนุสัย”

อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ 8 จบ

9. อัทธานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[995] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร) ฯลฯ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
กำหนดรู้อัทธานะ”

อัทธานปริญญาสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

10. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[996] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ”

อาสวักขยสูตรที่ 10 จบ
ทุติยวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อิจฉานังคลสูตร 2. กังเขยยสูตร
3. ปฐมอานันทสูตร 4. ทุติยอานันทสูตร
5. ปฐมภิกขุสูตร 6. ทุติยภิกขุสูตร
7. สัญโญชนัปปหานสูตร 8. อนุสยสมุคฆาตสูตร
9. อัทธานปริญญาสูตร 10. อาสวักขยสูตร

อานาปานสังยุตที่ 10 จบ