เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 6. ทุติยภิกขุสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ปฐมภิกขุสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ 2

[992] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 4 ประการ
บริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 7 ประการ
บริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2 ประการ
บริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 4
ประการบริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 7
ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2
ประการบริบูรณ์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :480 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 6. ทุติยภิกขุสูตร

ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 4 ประการ
บริบูรณ์ ธรรม 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 7
ประการบริบูรณ์ ธรรม 7 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม 2
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน 4 ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็น
ความสละคืน หายใจออก
1. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ฯลฯ สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
กล่าวกายอย่างหนึ่ง คือลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :481 }