เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

(7) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
2. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(1) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
(7) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
ให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
2. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :477 }