เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

(2) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(3) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(4) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่
ภิกษุ
(5) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(6) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :476 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [10. อานาปานสังยุต]
2. ทุติยวรรค 3. ปฐมอานันทสูตร

(7) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
2. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
3. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
4. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(1) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
(7) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
สติปัฏฐาน 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
ให้โพชฌงค์ 7 ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
2. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :477 }